เบี้ยปรับเงินเพิ่ม

Last updated: 31 ต.ค. 2562  |  2581 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 เบี้ยปรับเงินเพิ่ม

 เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.  ค่าปรับอาญา กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภพ.30 (ไม่เคยยื่นแบบมาก่อน)

- กำหนดการยื่นแบบ ภพ.30 ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
- กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน ปรับ 300 บาท
- กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลาและเกิน 7 วัน ปรับ 500 บาท

2.  เงินเพิ่ม

-คิดในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น  1 เดือน)
- กรณีไม่มีภาษีต้องเสีย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จะเสียแต่ค่าปรับอาญากรณีไม่ยื่นแบบเท่านั้น

3.  เบี้ยปรับ การเสียค่าเบี้ยปรับแบ่งได้ 2 กรณี คือ

- กรณียื่นแบบเพิ่มเติม (ต้องมีการยื่นแบบปกติมาก่อนถึงจะยื่นเพิ่มเติมได้)
- กรณีไม่เคยยื่นแบบมาก่อน (อาจจะลืมยื่นหรือมีเงินไม่พอจ่ายก็เลยไม่ยื่น)

3.1 กรณียื่นเพิ่มเติม คิดเบี้ยปรับในอัตรา 2% - 20%

- ถ้าชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2%
- ถ้าชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5%
- ถ้าชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10%
- ถ้าชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20%

หมายเหตุ:

- ถ้ามีภาษีซื้อที่ลืมยื่นไม่สามารถนำมาหักออกได้ แต่สามารถนำมาขอคืนภาษีได้ตามปกติที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่ต้องยื่นเพิ่มเติมก็ได้เนื่องจากกิจการสามารถนำมายื่นขอคืนได้ในเดือนถัดไป(ไม่เกิน 6 เดือน)
- กฎหมายระบุไว้ว่าให้นำภาษีที่ต้องชำระคูณ 1 เท่า แต่ไม่ต้องนำไปคูณก็ได้ เนื่องจากว่าตัวเงินก็จะได้เท่าเดิม        

3.2 กรณีไม่ได้ยื่นแบบมาก่อน

- ถ้าชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2% x 2 เท่า
- ถ้าชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5% x 2 เท่า
- ถ้าชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10% x 2 เท่า
- ถ้าชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20% x 2 เท่า

หมายเหตุ:

- ถ้าไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องเสียค่าปรับอาญากรณีไม่ยื่นแบบ จำนวน 500 บาท

4.  การนับวัน กรณียื่นแบบเพิ่มเติมและไม่ได้ยื่นแบบ 

       ให้นับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเดือนก่อน (หรือวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งอาจจะไม่ใช่วันที่ 15 ก็ได้ กรณีที่วันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ วันสุดท้ายของการยื่นแบบก็จะเป็นวันที่ 17

ตัวอย่างที่ 1 

ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันที่ 15 ของเดือนก่อนและเป็นเดือนที่มีวัน 31 วัน วันครบกำหนดชำระภาษี ถ้าต้องการชำระภายใน 30 วัน จะตรงกับวันที่ 14 ของเดือนถัดไป และถ้าวันที่ 14 ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ ก็ต้องไปชำระก่อน คือ ชำระในวันที่ 13 ถ้าไปชำระหลังวันที่ 14 จำนวนวันก็จะเกิน 30 วัน ซึ่งจะทำให้ค่าเบี้ยปรับที่ต้องเสียขยับจาก 5% ไปเป็น 10% แทน

ตัวอย่างที่ 2 

ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันที่ 17 (บังเอิญเดือนก่อนวันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์ ทำให้ต้องเลื่อนมาจ่ายวันจันทร์แทน) และเป็นเดือนที่มีวัน 30 วัน ถ้าชำระภายใน 30 วัน จะต้องชำระภายในวันที่ 17 ของเดือนถัดไป

หมายเหตุ: วันหยุดให้ดูที่วันหยุดราชการ คือ สรรพากรหยุด การนับวันถึงจะเลื่อนออกไป

ข้อมูลอ้างอิง

  • อ้างอิง คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.81/2542 เป็นคำสั่งให้คิดค่าปรับ กรณียื่นเพิ่มเติมและไม่ยื่นแบบในอัตรา 1 เท่าและ 2 เท่า
  • อ้างอิง คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542 เป็นคำสั่งให้ลดเบี้ยปรับจาก 1-2 เท่าของภาษี ให้เหลือในอัตราร้อยละ 2-20%
  • อ้างอิง คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.117/2545 เป็นคำอธิบายวิธีการนับวัน


เบี้ยปรับเงินเพิ่ม – ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 เกินกำหนดเวลา

  • ค่าปรับอาญา ถ้ายื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท ถ้าเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
  • เงินเพิ่ม อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)


เบี้ยปรับเงินเพิ่ม – ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1  ภ.ง.ด.3  ภ.ง.ด.53 เกินกำหนดเวลา

  • ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
  • เพิ่ม อีกในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) กรณีไม่มีภาษีต้องเสีย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จ่ายแต่ค่าปรับอาญาเท่านั้น


กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เกินกำหนดเวลา

  • ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 2,000 บาท 
  • เงินเพิ่ม อีกในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) กรณีไม่มีภาษีต้องเสีย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จ่ายแต่ค่าปรับอาญาเท่านั้น


ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าที่กระทรวงพาณิชย์

      การยื่นงบการเงินล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน ค่าปรับจะมีอยู่ 2 ส่วนคือ ในส่วนของ (1) กรมสรรพากร กับในส่วนของ (2) กระทรวงพาณิชย์ ในส่วนของกรมสรรพากรผู้ประกอบการต้องเสียค่าปรับอาญายื่นแบบเกินกำหนดเวลาไม่เกิน 2,000 บาท โดยใช้คำว่าไม่เกิน 2,000 บาท แต่แนวปฏิบัติของสรรพากรจะเรียกเก็บค่าปรับ 1,000 บาท สำหรับแบบที่ยื่นเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน หากเกิน 7 วัน ค่าปรับจะอยู่ที่ 2,000 บาท และต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) ถ้าคุณไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม        

     ส่วนของกระทรวงพาณิชย์ เราแนบตารางค่าปรับมาให้ (ดูตารางค่าปรับด้านล่าง) การจ่ายค่าปรับให้ดูในเรื่องของระยะเวลา ถ้าคุณยื่นล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน ค่าปรับจะอยู่ที่ 1,200 บาท โดยจ่ายค่าปรับในนามบริษัท 600 บาท และจ่ายค่าปรับในนามกรรมการอีก 600 บาท

คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้น งบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี จะต้องยื่นภายในวันที่ 31พฤษภาคมของปีถัดไป
     
  2. บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ต้องจัดทำงบการเงินขึ้นเพื่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบรับรอง แล้วจึงนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ โดยจะต้องจัดให้มีการประชุมเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้น รอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี จะต้องจัดประชุมภายในวันที่ 30เมษายน ของปีถัดไป มิฉะนั้นจะมีความผิดโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท งบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว จะต้องนำไปยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ เช่น (1) ประชุมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 30 เมษายน ของเดือนถัดไป หรือ (2) ประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 20 พฤษภาคม ของเดือนถัดไป เป็นต้น

ตารางอัตราค่าปรับ สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม เป็นต้นไป 

1. อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน


2. อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน

3. อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือน หรือไม่ยื่นงบการเงิน

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้