ประเภทของ หนี้สิน

Last updated: 13 ม.ค. 2563  |  36143 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประเภทของ หนี้สิน

ประเภทของ หนี้สิน

     หนี้สิน อาจแบ่งตามระยะเวลาที่จะครบกำหนดของการชำระหนี้ในอนาคต ได้เป็น 2 ประเภท คือ หนี้สินหมุนเวียน และหนี้สินไม่หมุนเวียน การจัดประเภทหนี้สินมีความสำๆคัญต่อการวิเคราะห์ฐานะการเงินของกิจการการวัดสภาพคล่องของกิจการ โดยผู้ใช้งบการเงินอาจพิจารณาจากเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ ซึ่งคำๆนวณได้จากการนำสินทรัพย์หมุนเวียนลบด้วย หนี้สิน หมุนเวียน หรืออาจพิจารณาจากอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนซึ่งคำนวณได้จากการนำสินทรัพย์หมุนเวียนหารด้วย หนี้สิน หมุนเวียน ดังนั้นหากกิจการจัดประเภท หนี้สิน ไม่ถูกต้องจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดความเข้าใจผิดพลาดเกี่ยวกับฐานะการเงินของกิจการได้ ในบทนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ ความหมายของ หนี้สิน การรับรู้ หนี้สิน ในงบการเงิน การจัดประเภทของ หนี้สิน การบันทึกบัญชี หนี้สิน และการแสดงรายการ หนี้สิน ในงบการเงิน

     หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้น คาดว่าจะส่งผลให้กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ดังนั้น หนี้สิน จึงเป็นผลของรายการและเหตุการณ์บัญชีที่ได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต ก่อให้เกิดภาระผูกพันในปัจจุบันที่กิจการจะต้องจ่ายชำระ หนี้สิน นั้นให้หมดไปในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยที่ภาระผูกพัน(หมายถึงหน้าที่หรือความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติตามที่ตกลงไว้และการชำระ หนี้สิน ทำให้กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนั้นออกไป 

     การชำระ หนี้สิน หรือภาระผูกพันในปัจจุบันอาจทำได้หลายลักษณะ เช่น การจ่ายเงินสด การโอนสินทรัพย์อื่น การให้บริการของกิจการในอนาคต การเปลี่ยนภาระผูกพันเดิมเป็นภาระผูกพันใหม่โดยการก่อ หนี้สิน ใหม่เพื่อชำๆระ หนี้สิน เดิม เป็นต้น ตัวอย่างรายการรับรู้ หนี้สิน เช่น ในกรณีที่กิจการซื้อสินค้าหรือได้รับบริการมา หากมิได้จ่ายชำระทันทีผลจากรายการดังกล่าวจะทำให้เกิด หนี้สิน ขึ้น การรับเงินกู้ยืมจากธนาคารหรือสถาบันการเงินจะทำให้เกิด หนี้สิน หรือภาระผูกพันในการจ่ายคืนเงินกู้ในอนาคตกรณีที่กิจการขายสินค้าโดยมีการรับประกันหลังการขาย อาจต้องรับรู้ค่าซ่อมแซมสินค้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเป็น หนี้สิน ของกิจการ โดยการประมาณการ หนี้สิน ภายใต้สัญญารับประกันที่เกิดจากการขายในอดีต โดย หนี้สิน มี 2 ประเภท ดังนี้

1. หนี้สินหมุนเวียน
     เรื่องการนำๆเสนองบการเงิน ได้กำๆหนดการจัดประเภท หนี้สิน หมุนเวียนเมื่อ หนี้สิน นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

     1.1 คาดว่าจะมีการชำระภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของกิจการ
     1.2 มีวัตถุประสงค์หลักไว้เพื่อค้า
     1.3 ถึงกำๆหนดชำๆระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล
     1.4 กิจการไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขให้เลื่อนการชำระหนี้ออกไปอีกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน นับจากวันที่ในงบดุล หนี้สิน ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นให้จัดประเภทเป็น หนี้สิน ไม่หมุนเวียน

     ดังนั้น หนี้สินหมุนเวียนจึงหมายถึง หนี้สิน หรือภาระผูกพันที่จะถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือน นับจากวันที่ในงบดุล หรือเป็น หนี้สิน ที่กิจการคาดว่าจะจ่ายชำระ หนี้สิน นั้นภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของกิจการ การชำๆระ หนี้สิน หรือภาระผูกพันอาจทำได้หลายลักษณะ เช่น การจ่ายเงินสด การจ่ายชำระด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน การโอนสินทรัพย์อื่น การให้บริการของกิจการในอนาคต การเปลี่ยนภาระผูกพันเดิมเป็นภาระผูกพันใหม่โดยการก่อ หนี้สิน อื่นขึ้นใหม่เพื่อชำระ หนี้สิน เดิม เป็นต้น

     หนี้สิน หมุนเวียนได้แก่ เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่ายระยะสั้น เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปีนับจากวันที่ในงบดุล เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะสั้นอื่น  หนี้สิน หมุนเวียนอื่น เช่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย รายได้รับล่วงหน้า เป็นต้นโดยปกติ หนี้สิน จะบันทึกด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่ต้องใช้ในการจ่ายชำระ หนี้สิน นั้น

     แต่เนื่องจากหนี้สินหมุนเวียนเป็นหนี้สินระยะสั้น มีกำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้ภายใน 12เดือน นับจากวันที่ในงบดุล หรือภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของกิจการ ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดกับจำๆนวนกระแสเงินสดที่ต้องจ่ายชำระไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญจะบันทึกบัญชีหนี้สินหมุนเวียนด้วยจำนวนกระแสเงินสดที่ต้องจ่ายชำระ หนี้สิน นั้น

2. หนี้สินไม่หมุนเวียนหรืออาจเรียกว่า หนี้สินระยะยาว
     คือหนี้สินหรือภาระผูกพันที่มีระยะเวลาการชำระนานเกินกว่า12เดือน หรือเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาดำเนินงานปกติของกิจการ หรือกิจการคาดว่าจะชำระหนี้นั้นภายในระยะเวลาที่เกินกว่ารอบระยะเวลาดำเนินงานปกติหนี้สินไม่หมุนเวียนได้แก้ เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะยาวอื่น หุ้นกู้ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว หนี้สินไมหมุนเวียนอื่น ประมาณการหนี้สินเงินบำนาญ หนี้สินเงินทุนเลี้ยงชีพและบำเน็จเป็นต้นหนี้สินไม่หมุนเวียนหรือหนี้สินระยะยาว จะบันทึกบัญชีด้วยมูลค้าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่ต้องใช้ในการจ่ายชำระหนี้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้