ประกันแบบไหน ที่สามารถยื่นภาษีได้

Last updated: 4 ม.ค. 2563  |  657 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประกันแบบไหน ที่สามารถยื่นภาษีได้

ประกันแบบไหน ที่สามารถยื่นภาษีได้

1.ประกันชีวิต สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ

          1. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
          2. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
          3. ประกันชีวิตสะสมทรัพย์

1.ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ

     เป็นประกันชีวิตประเภทที่เน้นความคุ้มครองระยะยาว โดยเราต้องจ่ายเบี้ยประกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 5 ปี 10 ปี 15 ปี หรือ 20 ปี แต่ให้ความคุ้มครองเราตลอดชีพ หรือจนถึงอายุ 90 ปี หรือ 99 ปี เป็นต้น

2. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา

     เป็นประกันชีวิตที่เน้นความคุ้มครองระยะสั้น โดยเราสามารถเลือกช่วงเวลาในการจ่ายเบี้ยและรับความคุ้มครองได้เอง เช่น 5 ปี / 10 ปี / 15 ปี ซึ่งมีข้อดีคือเบี้ยประกันภัยนั้นต่ำมาก แต่เป็นการจ่าย “เบี้ยทิ้ง” ในลักษณะปีต่อปี ไม่สามารถเวนคืนหรือมีมูลค่าเงินสดได้ คล้ายกับประกันรถยนต์ที่ต้องจ่ายเงินทิ้งไปในทุกๆปีเพื่อแลกกับความคุ้มครอง

3. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

     เป็นประกันชีวิตที่เน้นการออมเงินโดยได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่กำหนดไว้แน่นอนตามกรมธรรม์ โดยมีทั้งแบบระยะสั้น กลาง ยาว ตั้งแต่ 3-5 ปี ยาวไปจนถึง 25-30 ปี แล้วแต่ตามที่แบบประกันกำหนดไว้

เงื่อนไขของประกันชีวิตเพื่อที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จะต้องเป็น ดังนี้

- ต้องซื้อประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- เป็นประกันชีวิตที่มีผลตอบแทนไม่เกิน 20 % ของดอกเบี้ยประกันชีวิตรายปี
- สามารถใช้เบี้ยประกันที่จ่ายไปในแต่ละปี มาลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

หากทำการเวนคืนหรือยกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบสัญญาจะต้องคืนภาษีลดหย่อนและเสียเงินเพิ่ม 1.5 %

2. ประกันสุขภาพ

     เป็นประกันที่จะจ่ายผลประโยชน์ด้านค่ารักษาพยาบาลตามที่เกิดขึ้นจริง และหรือ ตามวงเงินความคุ้มครองที่เลือกทำ หรือตามเงื่อนไขที่ระบุ โดยจุดประสงค์ที่ทำ คือเพื่อป้องกันไม่ให้เราเสียเงินค่ารักษาจำนวนมากที่อาจเกิดขึ้น โดยไม่สามารถคาดคะเนได้ล่วงหน้า  โดยประกันสุขภาพนั้น จะมีความคุ้มครองหลายประเภท หลักๆ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป (ผู้ป่วยใน / ผู้ป่วยนอก) ค่าชดเชยรายวัน, โรคร้ายแรงและมะเร็ง และอุบัติเหตุ

เงื่อนไขของประกันสุขภาพเพื่อที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จะต้องเป็น ดังนี้

- ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยหรืออาการบาดเจ็บ
- คุ้มครองและชดเชยการทพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะจากการเจ็บป่วยหรืออาการบาดเจ็บ
- ประกันอุบัติเหตุที่ให้ความคุ้มครองการรักษาทุพพลภาพสูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูก
- ประกันสุขภาพร้ายแรง
- ประกันการดูแลระยะยาว
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายไป นำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท
- แต่เมื่อรวมกับการหักล่าลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิต จะสามารถใช้ได้ไม่เกิน 100,000 บาท

3. ประกันชีวิตแบบบำนาญ

     เป็นประกันชีวิตที่เน้นการออมเงินเพื่อการเกษียณโดยเฉพาะ โดยจะต้องออมอย่างต่อเนื่องตามที่แบบประกันกำหนดไว้ เพี่อให้ได้รับเงินคืนจากแบบประกันเป็นรายปีในทุกๆปี ตั้งแต่กำหนดเกษียณอายุไปจนกระทั่งอายุที่แบบประกันกำหนดไว้ เช่น 85 หรือ 90 ปี

เงื่อนไขของประกันชีวิตแบบเพื่อที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จะต้องเป็น ดังนี้

- ระยะเวลาคุ้มครอง ประกันบำนาญต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
- เป็นกรมธรรม์ที่ทำกับบริษัทประกันในไทย
- การจ่ายผลประโยชน์สม่ำเสมอ (จ่ายเท่ากันทุกงวด หรือ ตามสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาก็ได้)
- ช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์ คือ ตั้งแต่ 55-85 ปี หรือมากกว่านั้น
- ผู้ประกันจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันครบก่อนได้รับผลประโยชน์
- ค่าเบี้ยประกันบำนาญสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15 % ของเงินที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- แต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เข้ากับ RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนและ กองทุนการออมแห่งชาติ ทั้งหมดนี้สามารถใช้สิทธิได้สูงสุดรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้