รอบรู้เรื่อง เช็ค

Last updated: 10 ก.พ. 2563  |  7545 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รอบรู้เรื่อง เช็ค

รอบรู้เรื่อง เช็ค

     เจ้าหนี้ และอาจจะกำหนดในระยะเวลาในการมารับเงินของเจ้าหนี้ได้ด้วย ซึ่งเจ้าหนี้จะต้องเป็นผู้นำเช็คไปขึ้นเงินด้วยตนเองที่ธนาคารเดียวกันกับบนเช็คนั่นเอง และในปัจจุบันเช็คนั้นมีด้วยกัน 2 ประเภท หลัก ๆ ตามกฎหมายก็คือ

     - เช็คระบุชื่อ คือ เช็คจะต้องประกอบไปด้วย ชื่อผู้รับเงินหรือตามคำสั่งของบุคคลที่นำเช็คมายื่นเท่านั้น (กรณีมีผู้รับแทนและมีเอกสารที่กำหนดครบถ้วน)
     - เช็คผู้ถือ คือ เช็คที่ธนาคารสามารถจ่ายเงินแก่ผู้ถือเช็คหรือจ่ายตามคำสั่งของผู้ถือเช็คนั้นได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับเงินนั้นจะเป็นใคร

นอกจากนี้ยังมีคำเรียกเช็คอื่น ๆ อีกมามากมายเช่น

เช็คขีดคร่อม

     คือ เช็คที่มีการขีดเส้นคร่อมไว้ที่มุมซ้ายของเช็ค แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ เช็คขีดคร่อมทั่วไป ซึ่งการขีดคร่อมแบบนี้จะทำให้ไม่สามารถนำเช็คไปขึ้นเงินได้ และเช็คขีดคร่อมเฉพาะซึ่งจะเพิ่มข้อความกำกับไปให้เช็คนั้นสามารถขึ้นเงินได้นั่นเอง

เช็คสลักหลัง

     คือ เช็คที่เราโอนกรรมสิทธิ์ผู้เป้นเจ้าของเช็ค แบ่งออกได้เป็นอีก 2 แบบ คือ เช็คสลักหลังระบุชื่อ ซึ่งจะระบุชื่อเจ้าของเช็คคนใหม่มีเป็นลายลักษณ์อักษร และเช็คสลักหลังลอย คือไม่มีชื่อของเจ้าของเช็คคนใหม่ ใครที่ถือเช็คก็เป็นเจ้าของเช็คนั่นเอง

เช็คลงวันที่ล่วงหน้า

     คือ เช็คทั่วไปที่เรากำหนดวันในการขึ้นเช็คไว้บนเช็ค โดยเราต้องระบุวัน เวลาและจำนวนเงินลงเช็ค คล้ายกับเราไปขอสินเชื่อเจ้าหนี้และบอกเขาว่าจะคืนวันไหน  หรือการที่เราให้เจ้าหนี้สามารถตัดเงินในบัญชีของเราออกไปได้อัตโนมัติเมื่อถึงเวลานั่นเอง

เคาน์เตอร์เช็ค

     คือ เช็คที่ทางธนาคารออกให้ เพื่อใช้ในกรณีที่เจ้าของบัญชีลืมเอาสมุดบัญชีไปธนาคารและจำเป็นต้องใช้เงิน ธนาคารเขียนสั่งจ่ายเงินให้และใช้เช็คได้ภายในธนาคารเท่านั้นไม่สามารถใช้งานแบบเช็คสลักหลังได้

เช็คของธนาคาร

     คือ เช็คที่ทางธนาคารออกให้แก่เจ้าของบัญชีที่มาซื้อเช็คด้วยเงินสด และมีลายเซ็นของผู้มีอำนาจในธนาคารเซ็นรับรองกำกับไว้แล้ว แต่เช็คนี้สามารถใช้งานได้เฉพาะในพื้นที่ที่ธนาคารสาขานั้นรับผิดชอบเท่านั้น

เช็คที่ธนาคารรับ

     คือ เช็คที่สามารถขึ้นเงินได้ ธนาคารให้การรับรองเช็คและประทับตราว่า “ใช้ได้” พร้อมกำกับวันที่และลายเซ็นของพนักงานที่มีอำนาจรับผิดชอบแล้วลงไปบนเช็คที่ขึ้นเงินนี้ด้วย ซึ่งจะตรงข้ามกับเช็คคืนนั่นเอง

เช็คคืน

     คือ เช็คที่ไม่สามารถแลกเป็นเงินได้หรือเช็คเด้งนั่นเอง อันนี้ก็ต้องระมัดระวังในการรับเช็คมาหน่อยนะ

เช็คสำหรับผู้เดินทาง

     คือ เช็คที่ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการถือเงินก้อนไปเที่ยวด้วย และผู้ที่ต้องการใช้งานก็สามารถไปซื้อได้ที่ธนาคารที่ตนเองมีบัญชีเงินอยู่ได้ด้วยตนเองนั่นเอง ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเลือกเดินทางท่องเที่ยวด้วยเช็คมากกว่า หรือไม่ก็เลือกใช้บัตรเครดิต เพราะสะดวกและปลอดภัยมากกว่าการพกเงินสดจำนวนมากในกระเป๋านั่นเอง

     แน่นอนว่าเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ทางธนาคารเขาค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่อยู่บนเช็คเป็นอย่างมาก หากเช็คใด ๆ ขาดข้อมูลไปแม้ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหน ทางธนาคารก็จะไม่รับรองและกลายเป็นเช็คคืนไป ดังนั้นเราต้องตรวจสอบเช็คให้ดีไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ได้รับเช็คเองหรือว่าเป็นผู้ที่ให้เช็คนั้นไปก็ตามว่าเช็คนั้น ๆ มีข้อมูลครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร สิ่งที่เราต้องดูบนเช็คประกอบไปด้วย

     1. มีสิ่งที่แสดงหรือบ่งบอกว่าเป็นเช็ค นั่นคือ หลักฐานที่แสดงว่ากระดาษแผ่นนี้เป็นเช็คที่ถูกต้องของธนาคาร เช่น มีตัวเลขหรือตัวหนังสือระบุว่าเป็นเช็คของธนาคารใด เลขที่ของเช็คเป็นเช็คเลขที่เท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งจะต้องสังเกตให้ดี เพราะบางครั้งก็อาจมีการทำเช็คปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงกันก็ได้เหมือนกัน
     2. ตัวเลขของจำนวนเงินหรือคำสั่งจ่ายเงินที่อยู่บนเช็คเขียนเป็นจำนวนอย่างถูกต้อง โดยไม่มีเงื่อนไขในการใช้เพราะปกติแล้วธุรกรรมทางการเงินทั้งหมดจะกำหนดให้เราเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินที่ต้องการทั้งแบบตัวเลขและตัวหนังสือซึ่งต้องมีจำนวนเท่ากัน และอย่าลืมใส่เครื่องหมายกำกับหัวท้ายตัวเลขเพื่อป้องกันการเพิ่มตัวเลขจากผู้ไม่หวังดีด้วย
     3. ชื่อของธนาคารนั้น และถ้าเป็นเช็คที่ต้องใช้ที่สาขาใดสาขาหนึ่งก็ต้องมีการระบุสาขาของธนาคารไว้ด้วย
     4. ชื่อหรือบริษัทของผู้ถือเช็คไปขึ้นเงินหรือผู้รับเงิน
     5. ลายมือชื่อของผู้จ่ายเช็ค ซึ่งเป้นลายมือเดียวกับที่เปิดบัญชีหรือที่แจ้งไว้กับธนาคาร
     6. วัน เดือน ปี และสถานที่ออกเช็คนั้น ๆ

     ทีนี้ก็พอจะเข้าใจเกี่ยวกับเช็ค กันแล้วใช่ไหมเอ่ย ซึ่งเช็คมักจะนิยมใช้กันในหมู่คนรวยหรือในบริษัท หมู่คนที่ทำธุรกิจต่าง ๆ โดยจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับการจ่ายเงินมากทีเดียว แต่ทั้งนี้เช็คก็อาจจะมีของปลอมได้เหมือนกันนะ ดังนั้นก่อนรับเช็คทุกครั้งควรดูให้ดีว่าของปลอมหรือไม่ เพราะหากนำมาขึ้นเงินแล้ว ไม่สามารถถอนเงินออกไปได้ ทางธนาคารก็ไม่สามารถช่วยอะไรคุณได้เหมือนกันนะ หรือข้อมูลในเช็คขาดหายไม่ครบถ้วน ก็ไม่สามารถใช้เช็คเบิกเงินออกมาได้เช่นกัน จึงควรสำรวจและศึกษาเกี่ยวกับเช็คให้ดี เพื่อจะได้ไม่เสียประโยชน์นั่นเอง

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้