สินทรัพย์และการคำนวณค่าเสื่มราคา สัมพันธ์กันอย่างไร

Last updated: 1 มิ.ย. 2564  |  969 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สินทรัพย์และการคำนวณค่าเสื่มราคา สัมพันธ์กันอย่างไร

สรุปสั้น ๆ สำหรับคนทำธุรกิจ
ความสัมพันธ์ของสินทรัพย์และค่าเสื่อมราคา
---
ถ้าให้พูดนิยามแบบยาก ๆ
สินทรัพย์ คือ ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต
เอาเป็นว่าเรามาคุยกันแบบง่าย ๆ ดีกว่า นั่นคือ
สินทรัพย์ เป็นอะไรที่เราซื้อหรือได้มา แล้วคิดว่าจะมีประโยชน์มากกว่าการใช้แล้วหมดไป ดังนั้นแปลว่าเงินที่จ่ายไป ไม่สามารถนำมาเป็น "รายจ่าย" ของธุรกิจได้ทันที
แต่อย่างไรก็ดี เมื่อมีการใช้งาน ก็แปลว่ามันต้องมีอายุการใช้งานด้วย ซึ่งอายุการใช้งานของมันนี่แหละครับ จะมีความสัมพันธ์กับคำว่า ค่าเสื่อมราคา ซึ่งเรากำลังจะหาออกมาเพื่อใช้ค่าใช้จ่ายของธุรกิจนั่นเองครับ
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทเราซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องละ 30,000 บาท เข้ามาใช้ในการทำงานของกิจการ ซึ่งแน่นอนว่าคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาไม่ได้ใช้วันเดียวจบแน่นอน ถ้าใครคิดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งก้อนทันที ก็ดูเหมือนว่าจะไม่สมเหตุผลเท่าไร
ดังนั้นจึงต้องประมาณกันต่อว่า อายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เป็นกี่ปี เช่น คาดว่าจะใช้สัก 5 ปี แบบนี้ก็จะแบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายปีละ 6,000 บาท และเรียกว่าค่าเสื่อมราคาซึ่งแบ่งตามอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์นั่นเอง
อันที่จริงแล้ว ค่าเสื่อมราคา ยังมีเรื่องของการคำนวณมูลค่าซาก (มูลค่าคงเหลือ) ไปจนถึงวิธีการคำนวณแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การหารจำนวนปี (แบบเส้นตรง) อีกมากมายครับ แต่เพื่อให้เข้าใจเห็นภาพของความสัมพันธ์ที่ง่าย ๆ จึงยกตัวอย่างแบบนี้ให้ดูกันค่ะ
และจากความสัมพันธ์นี้ ทำให้สิ่งที่ต้องระวัง คือ เรื่องของกระแสเงินสด เพราะ การจ่ายเงินทั้งก้อนออกไปเพื่อซื้อสินทรัพย์ อาจจะไม่ได้นำกลับมาใช้เป็นรายจ่ายทางที ดังนั้นกิจการจึงต้องบริหารและจัดการให้ดี
มาถึงตรงนี้ ผมจึงมีคำแนะนำสั้นๆ
สำหรับการจัดการสินทรัพย์และค่าเสื่อมราคาดังนี้
1. สินทรัพย์ที่ซื้อเข้ามา ควรเกี่ยวข้องกับการหากำไรของธุรกิจ และมีการคำนวณค่าเสือมราคาตามอายุการใช้งานจริง เพราะจะทำให้เราวัดผลกำไรได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
2. ควรมีทะเบียนทรัพย์สินที่ชัดเจน เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อมูลว่าสินทรัพย์ที่มีนั้นมันครบถ้วน และมีการคิดค่าเสื่อมราคาอย่างถูกต้อง
3. อย่าลืมบริหารกระแสเงินสดให้ดี เพราะการจ่ายเงินสดเพื่อซื้อสินทรัพย์ส่วนใหญต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่เงินก้อนนั้นไม่ได้ใช้เป็นรายจ่ายทั้งจำนวน ซึ่งอาจจะกระทบกับกระแสเงินสดของธุรกิจได้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้