ใครบ้างที่ต้อง "เสียภาษีที่ดิน"

Last updated: 3 ก.ย. 2563  |  1165 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ใครบ้างที่ต้อง "เสียภาษีที่ดิน"

กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย ย้ำอีกครั้ง ถ้าไม่มีใบเรียกเก็บภาษีที่ดิน ไม่ต้องจ่าย พร้อมส่องคุณสมบัติใครบ้างที่ "จ่ายภาษีที่ดิน"

จากกรณี พระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 63 ที่ผ่านมา ประชาชนมีความกังวลใจเรื่องการเสียภาษีที่ดินกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่แน่ใจว่าตนเองเป็นบุคคลที่ต้องเสียภาษีที่ดินหรือไม่

 

ข้อมูลคุณลักษณะผู้ที่ต้องเสีย หรือได้รับการยกเว้นภาษี โดยมีดังนี้

- ประชาชนที่เป็นเจ้าของบ้าน และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านซึ่งเป็น บ้านหลังแรก มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี

- ผู้ที่มีบ้านตั้งแต่หลังที่ 2 ขึ้นไป จะต้องเสียภาษีล้านละ 200 บาทตั้งแต่บาทแรก หรือคิดในอัตรา 0.02% และหากนำไปทำบ้านให้เช่า จะต้องเสียภาษีแบบอื่นๆ หรือในอัตราล้านละ 3,000 บาท หรือคิดเป็น 0.03%

- บุคคลธรรมดาใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในการประกอบการเกษตรจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีในปี 2563 – 2565

- ที่ดินว่างเปล่าของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ได้รับการบรรเทาภาระภาษีใน 3 ปีแรก โดยได้เว้นภาษี 90% ของราคาประเมิน เป็นเวลา 3 ปี หรือเก็บเพียง 10% เท่านั้น แต่หลังจากนั้นหากยังไม่พัฒนาเป็นโครงการ จะต้องเสียภาษีที่ดินว่างเปล่าเต็มอัตรา


ขั้นตอนการเรียกเก็บและการชำระภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง
- กทม. และองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นจะส่งใบประเมินเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไปยังเจ้าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

- เมื่อตรวจสอบใบประเมินดังกล่าวแล้วพบว่า ถูกต้อง ผู้เสียภาษีค่อยไปชำระภาษี
- สามารถดำเนินการได้หลายช่องทาง ดังนี้

กทม. : สามารถชำระที่เคาน์เตอร์ ธนาคาร หรือผ่านคิวอาร์โค้ด (QR code) ของระบบออนไลน์ แบงกิ้ง (Online Banking) ในท้ายใบประเมิน หรือที่สำนักงานเขตทั้ง 50 แห่ง

ต่างจังหวัด : ชำระได้ที่สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือตามช่องทางอื่นที่กำหนด

ขยายเวลาชำระภาษีที่ดิน ปี 63
ล่าสุด ลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า มีประชาชนกังวลเรื่องการเสียภาษีดินและสิ่งปลูกสร้าง ในปีภาษี 63 ว่าจะถูกเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม หากไม่มาชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายในสิ้นเดือน ส.ค.63 นี้



อ้างอิงจาก : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ในกรณีที่ประชาชนไม่ได้รับใบประเมินเรียกเก็บภาษี หรือท้องถิ่นขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาในการชำระภาษีออกไป ประชาชนก็จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ในขณะนี้มีอปท.จำนวนหนึ่งได้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีออกไปจากที่จะสิ้นสุดเดือน ส.ค. 63 นี้ แล้ว และยังมีอีกหลายแห่ง รวมทั้งกทม. อยู่ระหว่างการพิจารณาขยายกำหนดเวลาชำระภาษีดังกล่าว
หากสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานเขตกทม.โทร. 0-2221-2141 ถึง 69 และในส่วนของต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สำนักงานกองคลังในแต่ละเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล

อปท.ย้ำไม่มีหนังสือแจ้งประเมินไม่ต้องเสียภาษี
ขณะที่ ประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ยังไม่มีหนังสือแจ้งประเมินไปยังผู้เสียภาษี ถือว่าผู้เสียภาษีไม่มีภาระต้องไปเสียภาษีตามกฎหมาย

โดยอาจมีหลายสาเหตุ เช่น ประชาชนได้รับยกเว้นภาษีกรณีเป็นเจ้าของบ้านและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หากมูลค่าฐานภาษีกรณีใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัยไม่เกิน 50 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาทแล้วแต่กรณี หรือเป็นบุคคลธรรมดาใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในการประกอบการเกษตรจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีในปี 2563 – 2565, หนังสือแจ้งประเมินภาษีส่งไปแล้วไม่มีผู้รับ จดหมายจึงถูกตีกลับ รวมถึงไม่อยู่ในฐานข้อมูลการสำรวจผู้อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีของ อปท. (ตกสำรวจ)

สำหรับกรณีผู้เสียภาษีได้รับหนังสือแจ้งประเมินภาษีจาก อปท. ล่าช้า เช่น ได้รับแจ้งเกินกว่าเดือนส.ค. 63 ผู้เสียภาษีสามารถใช้สิทธิคัดค้านการประเมินต่อผู้บริหารท้องถิ่นได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และกรณีค่าภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ผู้เสียภาษีสามารถขอผ่อนชำระภาษีได้ 3 เดือน นับแต่เดือนที่ต้องชำระภาษี โดยแบ่งชำระในจำนวนเท่ากันทุกเดือนอีกด้วย

 

แหล่งที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ 28 ส.ค. 2563

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้